จะซื้อกล้องต้องทำอย่างไร ถึงเลือกได้ถูกใจคุ้มราคา?




DSLR คือ Digital Single Lens Reflex คือพวกกล้องที่เปลี่ยนเลนส์ได้ตามการใช้งานของเรา แล้วก็สามารถที่จะปรับกล้องได้ละเอียดกว่าพวกกล้อง Compact ทั่วไป และคุณภาพของภาพที่ได้ย่อมต้องดีกว่าสมราคาและเทคโนโลยีที่มากับตัวกล้อง เมื่อคิดจะซื้อกล้องไว้ใช้งาน สิ่งแรกที่คนทั่วไปมักตั้งคำถามกับตัวเองและคนรอบข้างคือ รุ่นใหนดี? คำถามยอดนิยมสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังตัดสินใจ ซื้อกล้องดิจิตอลมาไว้ใช้งานซักตัวหนึ่ง ทั้งนี้เพราะกลอ้งดิจิตอลในปัจจุบันมีให้เลือกซื้อมากมาย โดยเฉพาะกล้องแบบดิจิตอล SLR ที่มีราคาถูกลงมาก และได้รับความนิยมมกขึ้นทุก วันราคาเริ่มต้นเพียงหมื่นกว่าบาท ใกล้เคียงกับกล้องดิจิตอลแบบคอมแพคทีเดียว และมีให้เลือกนับสิบจากหลายยี่ห้อ ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป การที่จะตัดสินใจเลือกซื้อกล้องดิจิตอลจึงนับเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวไม่น้อย โดยเฉพาะหากคุณเป็นมือใหม่ ไม่เคยรู้เรื่องกล้องดิจิตอลมาก่อน ดังนั้นแนวทางในการตัดสินใจจึงต้องทำความเข้าใจกับประเด็นต่างๆ รวมถึงการหาข้อมูลที่เกี่ยวกับกล้องที่คิดจะซื้อเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย หลายๆยี่ห้อประกอบกับข้อมูลด้านเทคโนโลยีของกล้องแต่ละรุ่นมาประกอบกันจึงกลายเป็นคำตอบนี้ว่า รุ่นไหนดี ? ขอย้ำว่าอย่าใช้ยี่ห้อและคำโฆษณาเป็นตัวตัดสินใจ ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะผิดหวังและเสียดายเงิน สิ่งแรกก่อนซื้อกล้องต้องมี

งบประมาณ

ก่อนอื่นต้องมาดูกันว่า คุณจะตั้งงบไว้ที่เท่าไร ในการหาซื้อกล้องคู่ที่รู้ใจ เพราะราคากล้องดิจิตอล SLR ในตลาดมีตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทไปจนสามแสนบาท ความละเอียดอยู่ในระดับ 8 ถึง 21 ล้านพิกเซล แม้จะเป็นรุ่นเล็กที่มีราคาประหยัด แต่ก็มีคุณภาพที่ดีมากสิ่งที่แตกต่างกันทำให้ราคากล้องมีความแตกต่างกันมาก เช่น ความละเอียดที่เพิ่มขึ้น เซ็นเซอร์ขนาดใหญ่กว่า ระบบการทำงานรวดเร็วกว่า ตัวกลอ้งเป็นโลหะ เช่นแม๊กนีเซียมอัลลอยล์ เป็นต้น เมื่อตั้งงบไว้แล้วเช่น สามหมื่นบาท ก็มองหาเฉพาะกล้องที่อยาในงบของเรารุ่นที่มีราคาสูงกว่า คงไม่ต้องนำมาพิจารณาให้ปวดหัว ต่อมาคือคุณสมบัติข้อแรกที่ควรพิจารณา

เซ็นเซอร์ภาพ

เซ็นเซอร์ภาพ ถ้าดูตามสเปคจะเขียนว่า Image sensor พูดง่ายๆก็คือ ส่วนที่ใช้รับภาพแทนฟิล์มนั้นเอง บางยี่ห้อใช้ CMOS เช่น แคนนอน แต่ส่วนใหญ่ใช้ CCD มีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แต่เซ็นเซอร์ภาพที่มีใหญ่กว่า ยอ่มได้เปรียบ เพราะเก็บรายละเอียดได้มากกว่าและให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า โดยทั่วไปกล้องดิจิตอล SLR ในปัจจุบันจะนิยมจะนิยมใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35 mm เมื่อจะนำเลนส์ของกล้องฟิล์มมาใช้ จะต้องคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม 1.5 หรือ 1.6 เท่า จึงจะได้ทางยาวโฟกัสที่เทียบเท่ากับการใช้ฟิล์ม 35 mm ส่วนกล้องบางรุ่นที่ใช้เซ็นเซอร์เท่าฟิล์มก็ไม่ตอ้งคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม เช่น canon EOS 1Ds Mark lll หรือ EOS 5D เป็นต้น ส่วนกลอ้งโอลิมปัส พานาโซนิค และไลก้า ใช้เซ็นเซอร์ขนาด 4/3 ซึ่งเล็กกว่าขนาด APS-C ต้องคูณทางยาวโฟกัสเพิ่ม 2 เท่า เช่น เลนส์ 50mm จะเพิ่มเป็น 100 mm เป็นต้น แต่มีข้อดีคือเป็นเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับเซ็นเซอร์ขนาด 4/3 โดยเฉพาะ ทำให้ตัวเลนส์มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

ความลึกของสี

ความลึกของสี หรือ Bit Depth บางทีก็เรียก Color Depth ยิ่งมีความลึกของสีมากเท่าใด ก็จะเก็บรายละเอียดของเฉดสีมากเท่านั้น เช่น 10 บิต /สี หรือ 12 บิต/สี ในภาพถ่ายจะมีสามสี คือ RGB ถ้า 1 สี แสดงได้ 13 บิต 3 สีก็จะได้ 36 บิต เป็นต้น ถ้าเป็นกลอ้งระดับไฮเอนด์บางรุ่นจะทำได้ถึง 14 บิต /สี หรือ 42 บิตที่ RGB เก็บรายละเอียดของโทนสีได้มากกว่า 12 บิต ถึง 3 เท่า ให้คุณภาพที่ใกล้เคียงกับการใช้ฟิล์มทั่วๆไป การที่เฉกสีน้อยจะทำให้การแยกสีไม่ค่อยดี เท่าที่ควร เช่นกลีบดอกไม้สีแดงเข้ม แดงปานกลางและแดงอ่อน ดูด้วยตาเปล่าก็ไล่เฉดสีกันดี แต่ถ่ายออกมากลายเป็นสีแดงสีเดียว ถ้าบันทึกความลึกของสีได้มาก จะได้เฉดสีที่ใกล้เคียงกับที่ตามองเห็น

ความ ละเอียด

เลือกความละเอียดที่เหมาะสม กล้องดิจิตอล SLR ในทุกวันนี้มีความละเอียดสูงมาก ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 8 จนถึง 21 ล้านพิกเซล หากคิดว่าจะอัดขยายภาพไม่เกิน 8 x 10 นิ้ว กล้องที่มีความละเอียดระดับ 8-10 ล้านพิกเซลก็เพียงพอแล้ว แต่อย่าลืมว่าคุณภาพที่ได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามกล้องที่มีความละเอียดสูงมักจะให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า แม้ว่าจะถ่ายภาพที่ไฟล์ขนาดเล็กลง เช่นกล้องที่ความละเอียด 10 ล้านพิกเซล หากถ่ายภาพที่ความละเอียด 6 ล้านพิกเซล มักจะให้คุณภาพที่ดีกว่ากล้องที่มีความละเอียดสูงสุดที่ 6 ล้านพิกเซล ทั้งนี้เนื่องจากเซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่ คุณภาพดีกว่า หรือหน่วย ประมวลผลที่มีประสิทธิภาพดีกว่านั้นเอง หากต้องการใช้งานเพื่ออัดขยายภาพในขนาดไม่เกิน 4 x 6 นิ้ว ควรปรับตั้งกล้องที่ความละเอียดที่ 3 ล้านพิกเซลก็เพียงพอแล้วเพราะการตั้งความละเอียด 10 ล้านพิกเซล แล้วขยายภาพ 4 x 6 นิ้วคุณภาพจะไม่แตกต่างกับการตั้งความละเอียดที่ 3 ล้านพิกเซล เนื่องจากเครื่องพิมพ์ภาพไม่ว่าจะเป็นอิงค์เจ็ทหรือแลปสีต้องการไฟล์ภาพสูง สุดสำหรับภาพ 6x4 นิ้วที่ความละเอียด 3 ล้านพิกเซลเท่านั้น ( พิมพ์ภาพที่ 300 – 400 dpi ) แต่ก็มีข้อระวังเหมือนกันคือหากถ่ายภาพที่ความละเอีอดต่ำแล้วต้องการนำไป ขยายภาพใหญ่ในภายหลังจะได้คุณภาพที่ไม่ดีเท่าที่ควร

เลนส์

กล้องดิจิตอล SLR จะถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ หากกล้องรุ่นเล็กรุ่นกลางมักจะมีเลนส์คิทมาพร้อมกับตัวกล้อง เช่น18 – 55 มม หรือ 18 – 70 มม เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพทั่วไป แต่ต้องการถ่ายภาพในมุมกว้างขึ้น หรือถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ระยะไกลจะไม่สามารถทำได้ จะต้องซื้อเลนส์มาใช้เพื่อมเติม โดยเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสต่ำกว่า 18 มม จะช่วยให้ถ่ายภาพได้กว้างขึ้นหรือมากกว่า 55 มม จะถ่ายภาพได้ไกลมากขึ้น หากต้องการซื้อเลนส์เพิ่มเพื่อใช้งานต่อจากเลนส์คิท ขอแนะนำเลนส์ซูมขนาด 55 – 200 ถ้าชอบถ่ายวิวทิวทัศน์กว้างๆก็ขอแนะนำเลนส์ ที่มีมุมกว้างมากขึ้น เช่น 12 – 24 มม หรือใช้เลนส์ครอบจักวาลตัวเดียวจบก็ได้เช่น 18 – 200 มม แต่คุณภาพจะไม่ดีเท่าเลนส์ช่วงซูมน้อยกว่า หากต้องการคุณภาพดีที่สุดก็ต้องเลือกใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยว เช่น ถ้าต้องการครอบคลุมตั้งแต่ 18 ถึง 200 มม จะต้องมีเลนส์ถึง 6 ตัวคือ 18 28 35 50 100 และ 200 มม โดยเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวส่วนใหญ่จะมีรูรับแสงกว้างสุดมากกว่าเลนส์ชูม เช่น F 1.4 จนถึง F 2.8 ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกตัวอาจเลือกเพียงบางตัวที่ดีที่สุดซึ่งดีกว่า การใช้เลนส์ซูมแน่นอน โดยทั่วไปนิยมใช้เลนส์ที่มีขนาด 50 มม F 1.8 เพราะมีราคาถูกเพียงไม่กี่พันบาท แต่ได้รูรับแสงกว้าง ใช้ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยๆ ได้ดีมาก ถ้าชอบถ่ายภาพบุคคลก็คือแนะนำเลนส์เทเลระยะปานกลางเช่น 85 มม F 1.8 หรือจะซื้อเลนส์ 100 มม มาโคร F 2.8 ก็ได้ ใช้ประโยชน์ได้ทั้งการถ่ายภาพบุคคล และถ่ายวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆเช่นดอกไม้หรือแมลง เป็นต้น

เรื่องการซื้อกล้องที่จะแนะนำก็มีเพียงเท่านี้อาจจะเป็นข้อมูลพอสังเขปให้ท่านที่ต้องการมีกล้องไว้ใช้งานพอที่จะใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกซื้อหาได้นะครับ ที่สำคัญอย่าลืมประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากๆ เพราะหลังจากมีกล้องแล้วจะมีอย่างอื่นที่ทำให้ท่านอยากได้ตามมาอีกเยอะ เช่นแบตเตอรี่ เลนส์ แฟลช ฯลฯ ซึ่งแต่ละล้วนจำเป็นต้องใช้เงินดังนั้น จงโปรดอย่าเชื่อคนขายให้มากนักนะครับ คราวต่อไปจะมาคุยกันถึงเรื่องเลนส์กันบ้าง วันนี้ขอไปหาข้อมูลก่อนสวัสดีครับ

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ30 สิงหาคม 2553 เวลา 21:57

    ดีจังต่อไปจะได้เลือกซื้อได้คุ้มราคาหน่อย

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น